บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2017

ระบบMATV

รูปภาพ
MATV คืออะไร อาจจะเป็นคำถามที่คนอยู่อพาร์ทเม้นท์หรือคอนโดอยากรู้ เพราะว่าทุกห้องคงต้องการดูทีวีอยู่แล้ว MATV นั้นย่อมาจากคำว่า Master Antenna Television อันหมายถึงการกระจายสัญญาณทีวีไปยังห้องต่างๆภายในอาคารเดียวกันหรือในกลุ่มอาคารบริเวณใกล้เคียงกันโดยใช้สายอากาศเพียงชุดเดียว ระบบนี้จึงเป็นที่นิยมใช้ตาม หอพัก อพาร์ทเม้น รีสอร์ท คอนโดมิเนียม โรงแรมเป็นต้น เหตุที่ได้รับความนิยมในกลุ่มห้องพักแบบนี้ก็ต้องลองจินตนาการดูว่าคอนโดหนึ่งๆมีจำนวนห้องซัก 50 ห้อง จะให้แต่ละห้องติดตั้งสายอากาศหรือจานดาวเทียมของตนเองก็คงรกหูรกตาน่าดู เห็นได้จากอาคารชุดสมัยก่อนๆ ที่ไม่มีระบบเหล่านี้ เราจะเห็นเสาก้างปลาเต็มหลังคา หรือจานดาวเทียมเต็มหลังห้อง การใช้เสารวมจึงเป็นแนวทางที่ดีในการบริหารจัดการเรื่องการเดินสาย การติดตั้งของแต่ละห้องให้มีปัญหาน้อยลง การติดตั้งสายอากาศแบบก้างปลาบนหลังคาอันเดียวแล้วต่อสายธรรมดาๆ ลงมาทุกห้องจะเกิดปัญหาว่าห้องที่อยู่ไกลๆจะดูได้ไม่ชัด หรือแทบไม่มีสัญญาณเลย เกิดสัญญาณรบกวนจากการเปิดปิดไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าในห้องต่างๆเข้ามาในระบบสายส่ง การสูญเสียสัญญาณเมื่อต้องต่อสายระยะไกล ปัญหาเหล

LNB จานดาวเทียม

รูปภาพ
L NB (Low Noise Block down Converter) คืออุปกรณ์ขยายสํญญาณรบกวนต่ำ เป็นภาคขยายสํญญาณความถี่วิทยุ (RF Amplifier) ที่มีLNA:Low Noise Amplifier อยู่ภายใน จะทำหน้าที่รับและขยายสัญญาณที่รับมาจากหน้าจานดาวเทียมและควบคุมระดับสัญญาณรบกวน Noise ให้มีค่าน้อยที่สุด จากนั้นจะทำการส่งผ่านภาคแปลงความถี่ให้ต่ำลง Down Converter เช่นแปลงความถี่ย่าน C-Band จาก3.7-4.2 GHzให้เหลือ 950-2050 MHz จึงจะสามารถส่งผ่านไปกับสายสํญญาณ RG6U ไปยังเครื่องรับได้ LNB มี 2 ประเภท LNB C-Band LNB KU-Band มี 2 แบบ แบบยูนิเวอร์แซลความถี่ 9750-10600 MHz แบบมาตรฐานความถี่ 11300 MHz การเลือกใช้แบบไหนกับดาวดวงใดมีสูตรดังนี้ ใช้ความถี่ช่องที่ต้องการดูเช่นดาวเทียม Nss6 ku ช่อง ASTV ความถี่ 11635 - ความถี่LNB 10600 = 1035 MHz หากใช้ความถี่ 11635 - ความถี่LNB แบบมาตรฐาน 11300 ก็จะได้ 11635-11300 =335 MHz ค่าความถี่ที่จะได้ต้องอยู่ที่ตัวเลข 950 -2150 MHz เท่านั้น หัวรับแบบยูนิเวอร์แซลมีขอดีอีกอย่างคือสามารถรับความถี่ย่านสูงได้แบบนี้ มีวงจร Local Oscillator อยู่ 2 ชุด เพื่อให้รับสัญญาณได้ทั้ง 2 ช่วงความถี่ โดย
รูปภาพ
การใช้เข็มทิศ ปรับตั้งจาน การใช้เข็มทิศ    การใช้เข็มทิศสำหรับติดตั้งจานดาวเทียม    - ใช้วัดทิศทางในการรับสัญญาณ - ใช้เทียบวัดปรับขั้วการรับสัญญาณของตัว LNB การเลือกใช้เข็มทิศสำหรับติดตั้งจาน                 เข็มทิศมีอยู่มากมายหลายแบบ...แต่ที่นิยมมากที่สุดสำหรับช่างติดตั้งจานดาว เทียมในขณะนี้คือ...เข็มทิศแบบไม้บรรทัด เหมือนภาพตัวอย่างนี้...ไม่ว่าจะเป็นบริษัทดาวเทียมใหญ่หรือเล็ก...ตอนนี้ แนะนำให้ใช้เข็มทิศแบบนี้กันทั้งนั้นละครับ                    ข้อดีของเข็มทิศแบบนี้ก็คือ....สามารถหมุนปรับตั้งตัวเลขอ้างอิงได้...ใช้ วัดปรับทิศได้ค่อนข้างแม่น...และใช้วัดปรับขั้วการรับสัญญาณของตัว LNB ได้ด้วย...และสำหรับท่านที่นำไปใช้ควบคู่กับแผนที่ที่มีอัตราส่วนเท่ากันกับ ตัวเลขที่พิมพ์ไว้ข้างๆตัวเข็มทิศ...ก็จะสามารถวัดระยะทางเป็นแบบกิโลเมตร ได้เลยละครับ...และสุดท้ายที่ยากจะแนะนำคือมีแว่นขยายให้ใช้ด้วย...สรุป เข็มทิศนี้ค่อนข้างดีจึงยากแนะนำให้ใช้กันครับ               เข็มทิศเป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับวัดทิศทาง  เพื่ออ้างอิง เป็นอุปกรณ์ตัวเล็กแต่ประโยชน์มากมายครับ  ตัวเข็มทิศผลิ

C Band กับ Ku Band คืออะไร ต่างกันอย่างไร

รูปภาพ
             หลายคนไปร้านขายจานกับกล่องดาวเทียม เจอคนขายถามว่าจะดูดาวเทียมย่าน C-Band หรือ Ku-Band ก็เกิดอาการงงว่ามันคืออะไร แล้วต่างกันตรงไหน ย่านไหนดีกว่ากัน ตรงนี้มีคำตอบนะครับ ดาวเทียมที่อยู่เหนือผิวโลกสูงประมาณ 36,000 กิโลเมตร ส่งสัญญาณแค่ไม่กี่วัตต์ออกมา เจอสภาพบรรยากาศของโลกสัญญาณก็จะถูกหน่วงไปประมาณ 200 dB พอมาถึงพื้นโลกนั้นสัญญาณที่เหลือจะอ่อนมากๆ เราจึงต้องใช้สายอากาศในลักษณะรูปร่างคล้ายจานที่เราเรียกว่าจานดาวเทียม เพื่อที่จะทำการรวมสัญญาณอ่อนๆเหล่านี้โดยการสะท้อนไปรวมกันยังจุดโฟกัส แม้จะรวมสัญญาณโดยรอบและจากทุกตำแหน่งของจานแล้วก็ตาม ค่าความเข้มของสัญญาณที่ได้ก็ยังน้อยมากในระดับ ไมโครวัตต์เท่านั้น (1 ใน ล้าน) สัญญาณเหล่านี้ก็จะถูกนำไปประมวลผลด้วยวงจรอิเลคทรอนิคส์ แต่เนื่องจากสัญญาณนั้นอ่อนมาก อาจจะมีโอกาศถูกรบกวนได้สูง จึงต้องมีการขยายสัญญาณทันทีหลังจากรับสัญญาณมาแล้วด้วยเครื่องขยายสัญญาณรบกวนต่ำหรือ Low Noise Amplifier (LNA) คุณสมบัติเด่นอันหนึ่งของการรับสัญญาณดาวเทียมก็คือจำนวนสัญญาณที่จานจะรับได้นั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับความถี่ นั่นคือหากจานมีขนาดเท่ากัน สัญญาณจะได

จานดาวเทียม (Satellite)

รูปภาพ
วงโคจรของดาวเทียม    การออกแบบวงโคจรของดาวเทียมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งานดาวเทียม ระดับความสูงของดาวเทียมมีความสัมพันธ์กับคาบเวลาในวงโคจรตาม กฎของเคปเลอร์ข้อที่  3  (กำลังสองของคาบวงโคจรของดาวเทียม แปรผันตาม กำลังสามของระยะห่างจากโลก) ดังนั้น ณ ระดับความสูงจากผิวโลกระดับหนึ่ง ดาวเทียมจะต้องมีความเร็วในวงโคจรค่าหนึ่ง มิฉะนั้นดาวเทียมอาจตกสู่โลกหรือหลุดจากวงโคจรรอบโลก ดาวเทียมวงโคจรต่ำเคลื่อนที่เร็ว ดาวเทียมวงโคจรสูงเคลื่อนที่ช้า          นักวิทยาศาสตร์คำนวณหาค่าความเร็วในวงโคจรได้โดยใช้  “ กฎความโน้มถ่วงแห่งเอกภพของนิวตัน ” (Newton's Law of Universal Gravitation) “วัตถุสองชิ้นดึงดูดกันด้วยแรงซึ่งแปรผันตามมวลของวัตถุ แต่แปรผกผันกับระยะทางระหว่างวัตถุยกกำลังสอง” ดังนี้                  แรงสู่ศูนย์กลาง = แรงโน้มถ่วงของโลก                         mv 2 /r      =  G (M m /r 2 )                                  v    =  (GM/r) 1/2   โดยที่ v = ความเร็วของดาวเทียม           M = มวลของโลก           m = มวลของดาวเทียม           r = ระยะทางระหว่างศูนย์กลาง

คำสั่งCommand Promptที่เกี่ยวกับInternet

รูปภาพ
คำสั่งCommand Promptที่เกี่ยวกับInternet จะมีคำสั่งหลักๆที่สำหรับใช้ตรวจสอบระบบInternet สามารถใช้ได้ที่บ้านหรือในระดับองค์กร ซึ่งจะต้องใช้ผ่าน Command Prompt หรือ เรียกสั้นๆว่า cmd จะมีวิธีเข้าคำสั่งได้ดังนี้ Windows 7 กดปุ่ม Windows+r จะปรากฎหน้าต่าง run ขึ้นมาให้พิมพ์ cmd ลงในช่องแล้วกดEnter กดปุ่ม start พิมพ์คำว่า cmd ลงในช่อง search แล้วกดEnter Windows8.1 – กดปุ่ม Windows+x จะปรากฎแถบขึ้นมาทางล่างซ้าย ใช้เมาส์คลิกเลือก Command Prompt หรือ Command Prompt (Admin) เมื่อหน้าต่างCommand Promptขึ้นมาแล้วที่นี้ก็จะมาใส่คำสั่งสำหรับตรวจสอบ 1.คำสั่ง ping เป็นการทดสอบว่าเส้นทางสื่อสารจากเครื่องที่ใช้อยู่ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่าย ว่ามีการใช้งานอยู่หรือไม่ หรือทดสอบเว็บไซด์ว่าสามารถเข้าได้หรือไม่ โดยการพิมพ์ชื่อเครื่อง หรือ IP Address หรือชื่อเว็บไซด์ที่ต้องการตรวจสอบ แบบของคำสั่ง เช่น ping www.google.co.th ping 192.168.0.0 2รูปนี้เป้นการทดสอบว่าสามารถติดต่อสื่อสารได้ รูปนี้ไม่สามารถติดต่อสื่อสารหากันได้ 2. คำสั่ง