ระบบเสียงในอาคาร ห้างสรรพสินค้า

ระบบเสียงตามสาย

          ระบบเสียงตามสาย คือการส่งสัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต้นทาง อาจจะเป็นไมโครโฟน หรือ เครื่องเล่นเสียง CD/VCD/DVDMP3 หรือจากเครื่องรับวิทยุ หรือแหล่งอื่นๆ แล้วส่งไปที่เครื่องขยายเสียงเพื่อ ทำการขยายให้ได้กำลังสูงๆ เพื่อจะได้ส่งไปตามสายในระยะทางที่ไกลๆ โดย ที่ปลายทางจะมีลำโพงต่ออยู่ ระบบเสียงตามสาย อาจถูกเรียกได้หลายแบบเช่น ระบบเสียงตามสาย เสียงตามสาย ระบบประกาศ ระบบกระจายเสียงตามสาย ระบบกระจายเสียงสาธารณะ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีความหมายในทางเดียวกัน อาจจะมีวัตถุประสงค์และรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันบ้าง แต่พื้นฐานหลักการจะมีองค์ประกอบเหมือนที่ กล่าวมาในตอนต้น การใช้งานระบบเสียงตามสายนิยมใช้ในระยะที่ไม่ไกลมาก โดยปกติจะใช้ภายในอาคาร ระหว่าง อาคาร หรือในพื้นที่หน่วยงาน โดยเฉลี่ยจะไม่เกิน 2 กิโลเมตรเนื่องจาก ยิ่งระยะทางไกลจะทำให้เกิดความ ต้านทานในสาย และทำให้สัญญาณเสียงลดคุณภาหรือดังค่อยลง อาคารเกือบทุกประเภทมีความจำเป็นต้องมีระบบเสียงตามสายเพื่อกระจายเสียงสำหรับประกาศเรียก หรือกระจายเสียงภายในอาคารเพื่อสื่อสารกับผู้ใช้อาคาร มีอุปกรณ์หลายชนิดรวมอยู่ในแผงกระจายเสียง (Sound Distribution Frame) ในลักษณะของแร็ก (Rack) โดยอาจประกอบด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ 3.1 เครื่องเสียง แหล่งกำเนิดสัญญาณ (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-1) เป็นแหล่งกำเนิดสัญญาณ อาจประกอบด้วยเครื่องรับวิทยุ AM/FM เครื่องเล่น CD DVD เครื่องเล่นเทป (ปัจจุบันไม่นิยมใช้) แบบแยกชิ้น หรือแบบรวมอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นเข้าด้วยกันเป็นชิ้นเดียว (Integrated) ใช้เป็นเสียงเพลงเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในอาคาร




รูปที่ 1 เครื่องเสียง แหล่งกำเนิดสัญญาณ 

       อุปกรณ์ประกาศเรียก (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-4) อุปกรณ์ประกาศเรียก เป็นไมโครโฟนสำหรับโอเปอร์เรเตอร์ใช้ในการประกาศ หรือส่งข่าวสาร ซึ่งมีทั้งชนิดที่มีเสียงกริ่งอิเล็กโทรนิกส์ หรือมีสวิตซ์เลือกโซนประกาศรวมอยู่ด้วย





รูปที่ 2 อุปกรณ์ประกาศเรียก

      มิกซ์เซอร์  (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-6) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณจากแหล่งกำเนิดเสียงหลายแหล่ง เช่น เครื่องเสียงแบบแยกชิ้น อุปกรณ์ประกาศเรียกเข้าด้วยกันโดยสามารถปรับระดับสัญญาณของแต่ละช่องได้อย่างอิสระ 





รูปที่ 3 มิกซ์เซอร์




        เครื่องขยายเสียง (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-3) เป็นอุปกรณ์ขยายสัญญาณจากมิกซ์เซอร์ เพื่อส่งเข้าระบบกระจายเสียงโดยตรง หรือผ่าน อุปกรณ์เลือกโซน โดยเอาต์พุตของเครื่องขายเสียงจะเป็นลักษณะของแรงดัน (Line Voltage) เนื่องจากโหลด ของเครื่องขยายเสียงในระบบประกอบด้วยลำโพงเป็นจำนวนมาก ซึ่งจำนวนลำโพงที่ต่ออยู่กับระบบ อาจเพิ่ม หรือลดได้โดยการใช้อุปกรณ์เลือกโซน การจ่ายเอาต์พุตเป็นแรงดันจึงมีความเหมาะสมกับโหลดลักษณะนี้




รูปที่ 4 เครื่องขยายเสียง


        อุปกรณ์เลือกโซน (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-6) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลือกบริเวณหรือโซนที่ต้องการกระจายเสียง เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวน บริเวณอื่นๆ การเลือกโซนกระจายเสียงสามารถเลือกได้ตั้งแต่หนึ่งโซนหรือทุกโซน โดยรูปแบบ (Pattern) ของ โซนต่างๆนั้นถูกกำหนดไว้ในขั้นตอนออกแบบ




รูปที่ 5 อุปกรณ์เลือกโซน

        โวลลุ่มคอนโทรล (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-17) โวลลุ่มคอนโทรล เป็นอุปกรณ์ปรับระดับความดังของเสียง ติดตั้งอยู่ในบริเวณต่างๆ ที่ ต้องการกระจายเสียง เพื่อปรับความดังของลำโพงในบริเวณนั้นๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม




รูปที่ 6 โวลลุ่มคอนโทรล

        สายสัญญาณ (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : มอก.11 มอก.1100) ที่ใช้ในระบบเสียงแบ่งเป็น 2 ส่วน คือภายในแผงกระจายเสียง อาจใช้เป็นสายเคเบิลแกนร่วม เชื่อมต่ออินพุตกับเอาต์พุตของอุปกรณ์ สำหรับในระบบกระจายเสียงอาจใช้เป็นสายทองแดงหุ้มฉนวนแบบสาย อ่อน (VCT) หรือสายทองแดงหุ้มฉนวน (THW)



รูปที่ 7 สายอ่อน (VCT)



รูปที่ 8 สายทองแดงหุ้มฉนวน (THW)



  ลำโพง (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-5) ลำโพงในระบบเสียงมีความแตกต่างจากลำโพงของเครื่องเสียงบ้าน โดยลำโพงของระบบเสียง จะมี Matching Transformer ติดตั้งมาด้วยเพื่อแปลงเอาต์พุตของเครื่องขยายเสียงให้เหมาะสมกับอิมพีแดนซ์ ของลำโพง ชนิดของลำโพงแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามลักษณะการติดตั้ง เช่น ลำโพงแบบฝังฝ้าเพดาน (Recess Ceiling Speaker) และลำโพงฮอร์น (Horn Speaker) เป็นต้น




รูปที่ 9 ลำโพง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบเสียงสาธารณะ

การเชื่อมต่อ ISP

IP Address และ Subnet mask